รฟท. ทำการประกาศเพิ่ม ขบวนรถไฟ เพิ่มเติมอีก 6 ขบวน และขยายเส้นทางบริการอีก 4 ขบวน โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2565 เป็นต้นไป รฟท. ขบวนรถไฟ – (28 เม.ย. 2565) นายเอกรัช ศรีอาระยันพงษ์ ผู้อำนวยการศูนย์ประชาสัมพันธ์ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) กระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ตามที่ รฟท. ได้เปิดรับฟังความเห็นของประชาชนเพื่อนำมาใช้เพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการเดินรถนั้น
ล่าสุด รฟท. มีความพร้อมในการเปิดเดินรถเพื่ออำนวยความสะดวกการเดินทางให้แก่ประชาชนเพิ่มในหลายเส้นทาง
ประกอบด้วย การเพิ่มขบวนรถเชิงพาณิชย์ (รถทางไกล) เส้นทางสายเหนือ สายตะวันออกเฉียงเหนือ และสายใต้ จำนวน 6 ขบวน การขยายปลายทางขบวนรถบริการเชิงสังคม (รถระยะสั้น) อีก 4 ขบวน ซึ่งสามารถรองรับการเดินทางของผู้โดยสารที่จะมีมากขึ้นทั้งในเขตเมือง ระหว่างเมือง และทางไกล เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2565 เป็นต้นไป ดังนี้
สายเหนือ จำนวน 2 ขบวน
– ขบวนรถด่วนที่ 51 กรุงเทพ – เชียงใหม่ เปิดให้บริการวันที่ 1 พฤษภาคม 2565
– ขบวนรถด่วนที่ 52 เชียงใหม่ – กรุงเทพ เปิดให้บริการวันที่ 2 พฤษภาคม 2565
สายตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 2 ขบวน
– ขบวนรถเร็วที่ 141 กรุงเทพ – อุบลราชธานี เริ่มให้บริการวันที่ 1 พฤษภาคม 2565
– ขบวนรถเร็วที่ 142 อุบลราชธานี – กรุงเทพ เริ่มให้บริการวันที่ 2 พฤษภาคม 2565
สายใต้ จำนวน 2 ขบวน
– ขบวนรถด่วนพิเศษที่ 37 กรุงเทพ – สุไหงโกลก เริ่มให้บริการวันที่ 12 พฤษภาคม 2565
– ขบวนรถด่วนพิเศษที่ 38 สุไหงโกลก – กรุงเทพ เริ่มให้บริการวันที่ 13 พฤษภาคม 2565
ขบวนรถที่ขยายสถานีต้นทาง/ปลายทาง จำนวน 4 ขบวน
– ขบวนรถธรรมที่ 233 ขยายต้นทางปลายทางเป็น กรุงเทพ – สุรินทร์ – กรุงเทพ เริ่มให้บริการวันที่ 1 พฤษภาคม 2565
– ขบวนรถธรรมที่ 234 ขยายต้นทางปลายทางเป็น กรุงเทพ – สุรินทร์ – กรุงเทพ เริ่มให้บริการวันที่ 2 พฤษภาคม 2565
– ขบวนรถชานเมืองที่ 379 ขยายต้นทางปลายทางเป็น กรุงเทพ – ฉะเชิงเทรา เริ่มให้บริการวันที่ 16 พฤษภาคม 2565
– ขบวนรถชานเมืองที่ 380 ขยายต้นทางปลายทางเป็น ฉะเชิงเทรา – กรุงเทพ เริ่มให้บริการวันที่ 17 พฤษภาคม 2565
นายเอกรัช กล่าวเพิ่มว่า
รฟท.ยังมีแผนทยอยปรับเพิ่มการเดินรถให้สอดรับกับความต้องการเดินทางของประชาชนที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งหากรวมขบวนรถที่จะเปิดให้บริการอีก 6 ขบวน ในวันที่ 1 พฤษภาคมนี้ จะทำให้มีขบวนรถที่เปิดให้บริการทั้งสิ้น 194 ขบวนต่อวัน แบ่งเป็นขบวนรถเชิงพาณิชย์ 54 ขบวน ขบวนรถเชิงสังคมเปิดให้บริการ 140 ขบวน และแบ่งตามเส้นทางได้เป็นสายเหนือ 36 ขบวน สายตะวันออกเฉียงเหนือ 46 ขบวน สายใต้ 50 ขบวน สายตะวันออก 24 ขบวน สายมหาชัย 34 ขบวน และสายแม่กลอง 4 ขบวน
นอกจากนี้ รฟท. ยังมีแผนทยอยปรับเพิ่มการเดินรถอย่างต่อเนื่อง ให้สอดรับกับความต้องการเดินทางของประชาชนที่มีมากขึ้นในอนาคต โดยอยู่ระหว่างเสนอสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) เพื่อดำเนินการจัดหาหัวรถจักรและตู้โดยสารใหม่ ตลอดจนให้ฝ่ายการช่างกลเร่งปรับปรุงหัวรถจักร และตู้โดยสาร เพื่อนำมาเปิดให้บริการแก่ประชาชนได้อย่างเพียงพอ
สำหรับการปรับเพิ่มขบวนรถในครั้งนี้ รฟท. ยังให้ความสำคัญต่อมาตรการเฝ้าระวังและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส COVID-19 ตามนโยบายของกระทรวงคมนาคม และกระทรวงสาธารณสุขควบคู่กัน โดยได้กำหนดจุดคัดกรองวัดไข้ผู้โดยสารก่อนเข้าในพื้นที่สถานี การตั้งจุดบริการแอลกอฮอล์ล้างมือ การให้สวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา พร้อมกับให้สแกนแอพพลิเคชันไทยชนะก่อนและหลังใช้บริการ หากผู้โดยสารไม่สามารถใช้แอพพลิเคชันไทยชนะ ให้กรอกข้อมูลการเดินทางแทน
โดยผู้ที่ต้องการเดินทาง สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์บริการลูกค้าสัมพันธ์ หมายเลขโทรศัพท์ 1690 ตลอด 24 ชั่วโมง หรือเฟซบุ๊กแฟนเพจทีมพีอาร์การรถไฟแห่งประเทศไทย
อย่างไรก็ตามสุดท้ายนี้ทางเพจเฟสบุ๊กของ หน่วยป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ประกาศค่าหัวของนายกิติกร อินตะ มูลค่าสูงถึง 50,000 บาท สำหรับผู้ที่สามารถแจ้งเบาะแสนำไปสู่การจับกุมตัวเป้ กิติกร ที่คาดการณ์ว่าตอนนี้อาจทำการเดินทางไปยังประเทศเพื่อนบ้านเพื่อทำการหลบหนีการจับกุม.
Credit : แนะนำสถานที่ท่องเที่ยว | แต่งบ้านและสวน | พระเครื่อง | รีวิวกล้องถ่ายรูป